วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัดการศึกษานอกสถานที่ ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA

แบบฝึกหัดการศึกษานอกสถานที่ 
ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA

1.ให้นิสิตเขียนสื่อตามประสบการณ์ของอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA ว่ามีสื่ออะไรบ้าง และแต่ละสื่อมีสาระนำเสนออะไร
ตอบ ประสบการณ์จำลอง ได้แก่ ชุดอวกาศจำลอง ดวงดาว แผนที่ จรวจ
        การศึกษานอกสถานที่ ได้แก่ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA 
        นิทรรศการ ได้แก่ ป้ายนิทรรศการดาราศาสตร์และนักวิทยาศสาสตร์
        ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ ได้แก่ ภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องจักรวาล
        ทัศนสัญลักษณ์ ได้แก่ แผนที่ดาวเทียม แผนที่จังหวัดนครนายก

2.ให้เขียนผังความคิดความรู้ที่ได้จากการทัศนศึกษา อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศGISTDA


3.อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA เริ่มต้นจากการเรียนรู้จักรวาล เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ที่มีทั้งหมดกี่โซน อะไรบ้าง
ตอบ ภายในมีทั้งหมด 13 โซน แต่ละโซนมีความน่าสนใจ

 โซนที่ 1 Universe: กำเนิดเอกภพ
เรียนรู้จุดกำเนิดว่าโลกเรามาจากไหน และเราเป็นใครในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ผ่านดาวเคราะห์น้อยใหญ่ และมาหาคำตอบกันว่า ทำไมเราถึงไม่ลอยออกไปจากโลกใบนี้” และทำไมโลกจึงมีสิ่งมีชีวิต

โซนที่ 2 Historical Technology of Space: เทคโนโลยีสำรวจโลกและอวกาศ
แรงบันดาลใจสร้างได้จากสิ่งรอบตัว เรียนรู้ผ่านกาลเวลา แห่งกระบวนการคิดหลากหลายรูปแบบ จากจินตนาการสู่การประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ สนุกกับภารกิจการส่งยานอวกาศและดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ใน Space Mission Game 

โซนที่ 3 Life Begins to Space : มุ่งสู่อวกาศ
การเตรียมความพร้อมไปสู่อวกาศ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงในการที่จะออกไปนอกโลก เมื่อออกไปนอกโลกแล้ว ร่างกายจะมีปฏิกิริยาอย่างไร เช่น ร่างกายกับแรงโน้มถ่วง รวมถึงการได้ทดลองเครื่อง Gyroscope ที่จะจะจำลองการต้านแรงโน้มถ่วงของการฝึกนักบินอวกาศ

โซนที่ 4 Space Station : สถานีอวกาศ
การใช้ชีวิต การค้นคว้าวิจัย การอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) และลองปฏิบัติภารกิจกับถุงมือนักบินอวกาศ

โซนที่ 5 Space 3D Theater : โรงภาพยนตร์ 3 มิติ
เพลิดเพลินไปกับภาพยนตร์ 3 มิติ ที่จะพาเราค้นหาคำตอบในจักรวาลที่กว้างไกลผ่านดวงดาวต่างๆ มากมาย

โซนที่ 6 Satellite : ดาวเทียม
มาทำความรู้จักกับประเภทและวงโคจรดาวเทียม วิธีการสร้างดาวเทียม พร้อมสนุกกับภารกิจสำรวจดาวอังคาร ตื่นตาตื่นใจกับโลกใบใหญ่ที่มีดาวเทียมโคจรอยู่

โซนที่ 7 Geo Informatics : เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
เป็นการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในชีวิตประจำวัน โดยเน้นให้เห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว

โซนที่ 8 Remote Sensing : การรับรู้จากระยะไกล
เรียนรู้วิธีขั้นตอนการได้มาของข้อมูล โดยที่เราไม่ต้องไปสำรวจด้วยตัวเอง

โซนที่ 9 Global Navigation Satellite System : ระบบดาวเทียมนำร่องโลก
สนุกกับ Tracking Game ที่จะสมมุติให้ผู้เล่นสวมบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลภายในเมืองหากเกิดเหตุ จะส่งทีมเข้าไปแก้ปัญหาด้วยเส้นทางใด

โซนที่ 10 Geographic Information Systems : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ข้อมูลที่มีมากมาย จะต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง กว่าจะได้ออกมาเป็นแผนที่

โซนที่ 11 GISTDA My House : สนุกสนานไปกับการท่องเที่ยวรอบโลกภายใน นาที

โซนที่ 12 Geo Informatics Applications : 
การประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ การใช้ประโยชน์ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเกษตรกรรม การวางผังเมืองและป้องกันภัย เพิ่มความเข้าใจผ่านการเล่นเกมส์สร้างเมือง เกมส์แนะนำเกษตรกร ฯลฯ

โซนที่ 13 Applications for Tomorrow : แรงบันดาลใจสร้างได้จากทุกที่รอบตัวเรา ในรูปแบบ 360 องศา

4.โรงภาพยนตร์ 3 มิติ เล่าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร และเป็นสื่อประเภทใด
ตอบ เป็นสื่อประเภทภาพยนตร์และโทรทัศน์ มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของจักรวาล

5.ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหลังจากที่ได้รับการเรียนรู้จากอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA มีอะไรบ้าง
ตอบ ทำให้เราได้รับรู้และเข้าใจรายละเอียดเนื้อหาในสื่อที่ถ่ายทอดออกมาได้ง่าย น่าสนใจและให้ความสะดวกสบาย

6.บันทึกภาพตนเอง และมุมประทับใจอย่างน้อย 2 ภาพลงใน BLOGGER พร้อมทั้งบรรยายความรู้สึก


หลังจากที่ผมได้ไปศึกษาดูงานที่ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA  มันเป็นความรู้สึกว่าคนเรานี่ก็สุดยอดไปเลยนะ ต้องการจะรู้เรื่องอะไร ก็จะศึกษาค้นคว้าจนได้คำตอบมากมาย ได้เห็นการพัฒนาหลายๆด้านของมนุษย์เพื่อที่จะได้เดินทางในอวกาศได้

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

การศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา


 สาระที่ได้เรียนรู้หลังจากเข้าเยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ดังนี้

  พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน แห่งนี้เปิดให้บริการมายาวนานกว่า 30 ปี ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้า มหาวิทยาลัยบูรพา บนเนื้อที่กว่า 30 ไร่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่จัดแสดงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางทะเล สิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตน่านน้ำของไทย

สาระที่ได้เรียนรู้หลังจากเข้าเยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ดังนี้


1.ความรู้เกี่ยวกับแมงกะพรุน 

  1.1การเพาะพันธุ์แมงกะพรุน   
  1.2วิธีรักษาเมื่อโดนพิษของแมงกะพรุน  
  1.3ชนิดของเเมงกะพรุน  
  1.4วิธีการดูเเมงกระพรุนว่ามีพิษหรือไม่มีพิษ



 2.ปลาเศรษฐกิจมีทั้งหมด 34 ชนิด


 3. น้ำทะเลที่สถาบันนำมาจากแสมสาร


 4.ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของวาฬ และชนิดของวาฬทั้ง 11 ชนิดที่มีในประเทศไทย ดังนี้

          1.วาฬหัวแตงโม
          2.วาฬนำร่องครีบสั้น
          3.วาฬหัวทุย
          4.วาฬเพชฌฆาตเล็ก
          5.วาฬเพชฌฆาต
          6.วาฬเพชฌฆาตดำ
          7.วาฬฟันเขี้ยว
          8.วาฬฟิน
          9.วาฬบรูด้า
         10.วาฬคูเวียร์
         11.วาฬหัวทุยแคระ


 5.ความรู้เกี่ยวกับหอยทั้ง 7 ชนิด
          1.  หอยโบราณทรงฝาชี
          2. ลิ่นทะเล
          3. หอยที่คล้ายหนอนหรือโซลีโนแกสเตอร์
          4. หอยงาช้าง
          5. หอยสองฝา หรือหอยกาบคู่
          6. หอยฝาเดียว
          7. หอยงวงช้าง


 6. เต่าทะเลทั่วโลกพบอยู่ 7 ชนิดคือ
          1) เต่ามะเฟือง
          2) เต่าตนุ
          3) เต่าหลังแบน
          4) เต่ากระ
          5) เต่าหัวฆ้อน
          6) เต่าหญ้า
          7) เต่าหญ้าแอตแลนติก


 7.การสังเกตม้าน้ำตัวผู้ตัวเมีย ซึ่งม้าน้ำตัวผู้จะมีถุงหน้าท้องแต่ตัวเมียไม่มี

 8.ได้ทราบว่า ราชาและราชินีแห่งท้องทะเล คือ
  • ราชา คือ ปลาฉลาม
  • ราชินี คือ สิงโตปีกยาว

 9.ได้ทราบว่า วัสดุกราฟฟิกที่ใช้ในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มีดังนี้

 -สื่อวัสดุกราฟิก 2 มิติ ได้แก่ คำอธิบายเกี่ยวกับปลา
 -สื่อวัสดุกราฟิก 3 มิติ ได้แก่  โครงสร้างของวาฬ
 -สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิดีทัศน์เกี่ยวกับแมกะพรุน
 -อันตรทัศน์ ได้แก่ ตู้จำลองระบบนิเวศ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

นายกรกฤษฏิ์ ดีโลก รหัสนิสิต 59040531
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาจีน

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา

    ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา 

ความหมายของนวัตกรรม
            คำว่า นวัตกรรมเป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำหมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
 ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
            “นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น 
ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา
              นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตน์Globalization มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปล่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ความหมายของเทคโนโลยี
             "เทคโนโลยี"หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และเอื้ออำนวยในด้านต่างๆ ดังนี้
                1. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency)
                2. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness)
                3. ประหยัด (Economy)
                4. ปลอดภัย (Safety)
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
              "เทคโนโลยีการศึกษา" หมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
               นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์
ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
               การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น
                 - ปัญหาผู้สอน
                 - ปัญหาผู้เรียน
                 - ปัญหาด้านเนื้อหา
                 - ปัญหาด้านเวลา
                 - ปัญหาเรื่องระยะทาง
                   นอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วย

ที่มา:https://sites.google.com/site/technoso8/

เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา

      เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
ประวัติ
     สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นหน่วยงานส่งเสริมวิชาการของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการ สารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย พัฒนามาจากห้องอ่านหนังสือ ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 โดยใช้ห้องเลขที่ 203 ในอาคารเรียนของวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ห้องสมุดได้ย้ายมาอยู่อาคารอำนวยการ โดยได้ใช้ห้องชั้นล่างของอาคารเป็นที่ปฏิบัติงานจนถึงปี พ.ศ. 2503 วิทยาลัยได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เสร็จเรียบร้อย ห้องสมุดได้ย้ายอีกครั้งมาอยู่ในห้องโถงชั้นล่างของอาคารเรียนซีกหนึ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2516 วิทยาลัยได้งบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดเป็นเอกเทศ มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น และเปิดใช้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2516
เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ วิทยาเขตบางแสน และมหาวิทยาลัยบูรพา ตามลำดับนั้น ในปีงบประมาณ 2536-2539 สำนักหอสมุดได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารสำนักหอสมุดหลังใหม่สูง 7 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 11,500 ตารางเมตร และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “อาคารเทพรัตนราชสุดา” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538

             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา


            ในสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีสื่อมากมายที่ช่วยให้นิสิตสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองได้อย่างสะดวกสบาย และรวดเร็ว มีความทันสมัย มีพื้นที่ให้ผ่อนคลาย ทั้งยังมีการบริการต่างๆที่ดี มีผู้ที่คอยแนะนำการใช้ และยังสามารถใช้บริการด้วยตัวเองผ่านทางเว็ปไซด์หอสมุดของมหาวิทยาลัยได้
                                      


มีพื้นที่ให้สืบค้นฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด & สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์



Single Sign On
เป็นการเข้าระบบนอกพื้นที่ โดยไม่ต้องติดตั้ง  VPN




e - DATABASES





ThaiLIS TDC






Web PAC
สามารถทราบว่าหนังสือวางอยู่ตำแหน่งใด สะดวกในการค้นหา เเละยังสามารถตรวจสอบการยืม-คืน การจองได้