วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัดการศึกษานอกสถานที่ ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA

แบบฝึกหัดการศึกษานอกสถานที่ 
ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA

1.ให้นิสิตเขียนสื่อตามประสบการณ์ของอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA ว่ามีสื่ออะไรบ้าง และแต่ละสื่อมีสาระนำเสนออะไร
ตอบ ประสบการณ์จำลอง ได้แก่ ชุดอวกาศจำลอง ดวงดาว แผนที่ จรวจ
        การศึกษานอกสถานที่ ได้แก่ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA 
        นิทรรศการ ได้แก่ ป้ายนิทรรศการดาราศาสตร์และนักวิทยาศสาสตร์
        ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ ได้แก่ ภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องจักรวาล
        ทัศนสัญลักษณ์ ได้แก่ แผนที่ดาวเทียม แผนที่จังหวัดนครนายก

2.ให้เขียนผังความคิดความรู้ที่ได้จากการทัศนศึกษา อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศGISTDA


3.อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA เริ่มต้นจากการเรียนรู้จักรวาล เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ที่มีทั้งหมดกี่โซน อะไรบ้าง
ตอบ ภายในมีทั้งหมด 13 โซน แต่ละโซนมีความน่าสนใจ

 โซนที่ 1 Universe: กำเนิดเอกภพ
เรียนรู้จุดกำเนิดว่าโลกเรามาจากไหน และเราเป็นใครในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ผ่านดาวเคราะห์น้อยใหญ่ และมาหาคำตอบกันว่า ทำไมเราถึงไม่ลอยออกไปจากโลกใบนี้” และทำไมโลกจึงมีสิ่งมีชีวิต

โซนที่ 2 Historical Technology of Space: เทคโนโลยีสำรวจโลกและอวกาศ
แรงบันดาลใจสร้างได้จากสิ่งรอบตัว เรียนรู้ผ่านกาลเวลา แห่งกระบวนการคิดหลากหลายรูปแบบ จากจินตนาการสู่การประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ สนุกกับภารกิจการส่งยานอวกาศและดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ใน Space Mission Game 

โซนที่ 3 Life Begins to Space : มุ่งสู่อวกาศ
การเตรียมความพร้อมไปสู่อวกาศ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงในการที่จะออกไปนอกโลก เมื่อออกไปนอกโลกแล้ว ร่างกายจะมีปฏิกิริยาอย่างไร เช่น ร่างกายกับแรงโน้มถ่วง รวมถึงการได้ทดลองเครื่อง Gyroscope ที่จะจะจำลองการต้านแรงโน้มถ่วงของการฝึกนักบินอวกาศ

โซนที่ 4 Space Station : สถานีอวกาศ
การใช้ชีวิต การค้นคว้าวิจัย การอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) และลองปฏิบัติภารกิจกับถุงมือนักบินอวกาศ

โซนที่ 5 Space 3D Theater : โรงภาพยนตร์ 3 มิติ
เพลิดเพลินไปกับภาพยนตร์ 3 มิติ ที่จะพาเราค้นหาคำตอบในจักรวาลที่กว้างไกลผ่านดวงดาวต่างๆ มากมาย

โซนที่ 6 Satellite : ดาวเทียม
มาทำความรู้จักกับประเภทและวงโคจรดาวเทียม วิธีการสร้างดาวเทียม พร้อมสนุกกับภารกิจสำรวจดาวอังคาร ตื่นตาตื่นใจกับโลกใบใหญ่ที่มีดาวเทียมโคจรอยู่

โซนที่ 7 Geo Informatics : เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
เป็นการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในชีวิตประจำวัน โดยเน้นให้เห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว

โซนที่ 8 Remote Sensing : การรับรู้จากระยะไกล
เรียนรู้วิธีขั้นตอนการได้มาของข้อมูล โดยที่เราไม่ต้องไปสำรวจด้วยตัวเอง

โซนที่ 9 Global Navigation Satellite System : ระบบดาวเทียมนำร่องโลก
สนุกกับ Tracking Game ที่จะสมมุติให้ผู้เล่นสวมบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลภายในเมืองหากเกิดเหตุ จะส่งทีมเข้าไปแก้ปัญหาด้วยเส้นทางใด

โซนที่ 10 Geographic Information Systems : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ข้อมูลที่มีมากมาย จะต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง กว่าจะได้ออกมาเป็นแผนที่

โซนที่ 11 GISTDA My House : สนุกสนานไปกับการท่องเที่ยวรอบโลกภายใน นาที

โซนที่ 12 Geo Informatics Applications : 
การประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ การใช้ประโยชน์ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเกษตรกรรม การวางผังเมืองและป้องกันภัย เพิ่มความเข้าใจผ่านการเล่นเกมส์สร้างเมือง เกมส์แนะนำเกษตรกร ฯลฯ

โซนที่ 13 Applications for Tomorrow : แรงบันดาลใจสร้างได้จากทุกที่รอบตัวเรา ในรูปแบบ 360 องศา

4.โรงภาพยนตร์ 3 มิติ เล่าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร และเป็นสื่อประเภทใด
ตอบ เป็นสื่อประเภทภาพยนตร์และโทรทัศน์ มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของจักรวาล

5.ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหลังจากที่ได้รับการเรียนรู้จากอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA มีอะไรบ้าง
ตอบ ทำให้เราได้รับรู้และเข้าใจรายละเอียดเนื้อหาในสื่อที่ถ่ายทอดออกมาได้ง่าย น่าสนใจและให้ความสะดวกสบาย

6.บันทึกภาพตนเอง และมุมประทับใจอย่างน้อย 2 ภาพลงใน BLOGGER พร้อมทั้งบรรยายความรู้สึก


หลังจากที่ผมได้ไปศึกษาดูงานที่ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA  มันเป็นความรู้สึกว่าคนเรานี่ก็สุดยอดไปเลยนะ ต้องการจะรู้เรื่องอะไร ก็จะศึกษาค้นคว้าจนได้คำตอบมากมาย ได้เห็นการพัฒนาหลายๆด้านของมนุษย์เพื่อที่จะได้เดินทางในอวกาศได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น